Categories
News

เทคนิคการเลือก Influencer ให้เหมาะกับแบรนด์

เทคนิคการเลือก Influencer ให้เหมาะกับแบรนด์ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในวันนี้แบรนด์จำเป็นต้องใช้อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ (Key Opinion Leader; KOL) มาช่วยโปรโมทสินค้าบริการ เพราะด้วยชื่อเสียง ด้วยคาแรกเตอร์ที่เป็นเอกลักษณ์ แถมยังมีฐานผู้ติดตามจำนวนมาก ทำให้ในหลายครั้งการใช้ Influencer ก็ได้ผลลัพธ์ดีกว่าการที่แบรนด์ไปซื้อโฆษณาหรือยิงแอดเอง

แต่การจะเลือก Influencer มาสักคนจากตัวเลือกจำนวนหลายพัน หลายหมื่นที่เหมาะกับแบรนด์ แถมยังวัดผลได้จริงนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยค่ะ บทความในวันนี้เลยจะเป็นการช่วยแนะนำวิธีผ่านเคสตัวอย่างว่าทำอย่างไรถึงจะเลือก Influencer ที่เหมาะกับแบรนด์ได้จริง

องค์ประกอบของการเลือก Influencer

ก่อนที่แบรนด์จะเลือก Influencer สักคนนั้นก็มีองค์ประกอบหลายอย่างที่ควรต้องตรวจสอบก่อน

ตัวอย่างเช่น

ตัวอย่างขององค์ประกอบที่แบรนด์ควรตรวจสอบก่อนจะเลือก Influencer ว่าเหมาะสมกับแบรนด์แล้วหรือไม่

จำนวนผู้ติดตาม: Influencer มีจำนวนผู้ติดตามหรือฐานลูกค้าที่เหมาะสมกับสินค้าบริการ และภาพลักษณ์ของแบรนด์หรือไม่

ชื่อเสียง: Influencer คนนี้มีชื่อเสียงในด้านที่ตรงกับแบรนด์หรือไม่ แล้วเคยมีประเด็นดราม่าที่ร้ายแรงเกิดขึ้นบ้างรึเปล่า

บุคลิก: บุคลิกลักษณะของ Influencer เหมาะกับแบรนด์ไหม ตัวอย่างเช่น บางเพจหรือ Influencer เป็นสายตลก แต่สินค้าของแบรนด์ต้องการขายให้คนที่ต้องการความน่าเชื่อถือมาก ๆ การเลือกคนนี้มาโปรโมทสินค้าก็คงไม่ตอบโจทย์สักเท่าไหร่

การรับงาน: Influencer คนนี้กำลังรับงานอะไรอยู่บ้าง กำลังรับงานจากสินค้าบริการของคู่แข่งอยู่รึเปล่า เพราะถ้าแบรนด์ไปจ้างก็จะถือเป็นการรับงานซ้อน แถมยังลดความน่าเชื่อถือของการรีวิวลงไปด้วย

ผลลัพธ์: ค่าเฉลี่ยต่อโพสต์ของ Influencer ในภาพรวมดีหรือไม่ เช่น มีค่าการมีส่วนร่วม (Engagement) ไม่ต่ำกว่า 10% หรือว่าดีแค่เฉพาะโพสต์ที่ยิง ADS หรือถูก Boost เท่านั้น

เทคนิคการเลือก Influencer ให้แบรนด์
เห็นแค่องค์ประกอบที่ยกตัวอย่างมาก็รู้สึกเหนื่อยแล้วใช่ไหมคะ แน่นอนว่าการที่แบรนด์จะเลือกใช้ Influencer สักคนนั้นมันเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องหาข้อมูลอย่างละเอียดให้รอบคอบก่อน ไม่งั้นแบรนด์ก็จะเสียทั้งเงิน และเวลาไปแบบไม่คุ้มค่านั่นเอง

ตัวอย่างในวันนี้จะเป็นการหา Influencer มาโปรโมทธุรกิจคาเฟ่ผ่านเคส “คาเฟ่บางแสน”
เหตุผลที่ยกตัวอย่างเป็นคาเฟ่ นั่นก็เพราะว่าคาเฟ่เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการคิดเมนูอาหารเครื่องดื่ม พัฒนารสชาติให้ถูกปากลูกค้า แล้วก็ยังต้องมาคิดเรื่องการตกแต่งให้น่าถ่ายรูปอีกด้วย

คาเฟ่เป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงมาก มาดูวิธีกันว่าแบรนด์ควรเลือกใครมาโปรโมทคาเฟ่ให้คนอยากตามรอยไปอุดหนุนบ้าง
การที่จะรวบรวมข้อมูลของการรีวิวคาเฟ่บนโซเชียลมีเดียในระยะเวลาไม่นาน แบรนด์จำเป็นต้องใช้เครื่องมือประเภท Social Listening Analytics ในการทำงาน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในตัวอย่างนี้คือ “Mandala Analytics”